นิทานชาดก
นิทานชาดก
ความหมายของนิทาน
“นิทาน” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒
(๒๕๔๒, หน้า ๕๘๘) อธิบายความหมายไว้ว่า
“นิทาน คือ เรื่องที่เล่ากันมา เช่น นิทานชาดก และนิทานอีสป
เป็นต้น” นอกจากนี้ยังมีท่านผู้รู้อธิบายความหมายไว้คล้ายๆกัน
เช่น
กิ่งแก้ว อัตถากร (๒๕๑๙, หน้า ๑๒) อธิบายว่า
นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
ส่วนใหญ่ถ่ายทอดด้วยวิธีมุขปาฐะ แต่ก็มีอยู่ส่วนมากที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้
และนอกจากนี้ยังอธิบายว่านิทานเป็นเรื่องเล่าทั่วไป
มิได้จงใจแสดงประวัติความเป็นมา จุดใหญ่เล่าเพื่อความสนุกสนาน บางครั้งก็จะแทรกคติเพื่อสอนใจไปด้วย
นิทานมิใช่เรื่องเฉพาะเด็ก นิทานสำหรับผู้ใหญ่ก็มีจำนวนมาก
และเหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
กุหลาบ
มัลลิกะมาส (๒๕๑๘, หน้า ๙๙ -๑๐๐) กล่าวถึง “นิทาน” ไว้ในหนังสือคติชาวบ้านว่า
นิทานเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะที่เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน เพื่อความสนุกสนานเบิกบานใจ
ผ่อนคลายความตึงเครียด เพื่อเสริมศรัทธาในศาสนา เทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์
เป็นคติเตือนใจ ช่วยอบรมบ่มนิสัย ช่วยให้เข้าใจสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์ธรรมชาติ
เนื้อเรื่องของนิทานเป็นเรื่องนานาชนิด อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการผจญภัย ความรัก
ความโกรธ เกลียด ริษยา อาฆาต ตลกขบขัน หรือเรื่องแปลกประหลาดผิดปกติธรรมดา
ตัวละครในเรื่องก็มีลักษณะต่างๆกัน อาจเป็นคน สัตว์ เจ้าหญิง เจ้าชาย อมนุษย์
แม่มด นางฟ้า แต่ให้มีความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมต่าง ๆ เหมือนคนทั่วไปหรืออาจจะเหมือนที่เราอยากจะเป็น
เมื่อนิทานตกไปอยู่ในท้องถิ่นใดก็มักมีการปรับเนื้อเรื่องให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของถิ่นนั้น
นิทานในแต่ละท้องถิ่นจึงมีเนื้อเรื่องส่วนใหญ่คล้ายคลึงกัน คือ สภาพความเป็นมนุษย์
อารมณ์ ความรู้สึกรัก เกลียด ความโง่ ฉลาด ขบขัน อาฆาตแค้น หรือทุกข์ สุข
ส่วนรายละเอียดจะแตกต่างไปบ้างตามสภาพแวดล้อมและอิทธิพลของวัฒนธรรมความเชื่อของ
แต่ละท้องถิ่น
ความหมายของชาดก
ชาดก เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล
เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า
คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้ นั่นเอง
ชาดก
เป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก
แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง
แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่อง
หมายถึง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ
โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ๑๐
ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร
จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก
ประเภทของชาดก
ชาดกมี ๒ ประเภท คือ
๑. นิบาตชาดก เป็นชาดกในพระไตรปิฎกมี ๕๐๐ เรื่อง
แบ่งออกเป็นหมวด ๆ ตามจำนวนคาถา นับตั้งแต่ ๑ คาถาถึง ๘๐ คาถา ชาดกที่มี
๑ คาถาเรียกว่า เอกนิบาตชาดก ๒ คาถาเรียกว่า
ทุกนิบาตชาดก ๓ คาถาเรียกว่า
ตักนิบาตชาดก ๔ คาถาเรียกว่า จตุคนิบาตชาดก ๕ คาถาเรียกว่า ปัญจกนิบาตชาดก ชาดกที่มีเกิน ๘๐ คาถาขึ้นไปเรียกว่า
มหานิบาตชาดก ซึ้งมี ๑๐ เรื่อง
เรียก ทศชาติ หรือ พระเจ้าสิบชาติ
๒. ปัญญาสชาติชาดก เป็นชาดกที่แต่งขึ้นจากนิทานพื้นเมือง
ไม่มีในพระไตรปิฎก หรือเรียกว่า
ชาดกนิบาตมี ๕๐ เรื่อง พระภิกษุชาวเชียงใหม่แต่งขึ้นเมื่อประมาณพ.ศ.
๒๐๐๐ – ๒๒๐๐ เป็นภาษามคธ
โดยเลียนแบบนิบาตชาดก ครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๓
– ๒๔๔๘ พระบรมวงศ์เธอกรมพระสมมตอมรพันธ์
ดำรงตำแหน่งองค์สภานายก หอพระสมุดสำหรับพระนคร
ได้ทรงแปลเป็นภาษาไทย เรื่องปัญญสชาดกจึงแพร่หลาย
องค์ประกอบของชาดก
ชาดกทุกเรื่องจะมีองค์ประกอบ ๓ ประเภท คือ
๑. ปรารภเรื่อง คือบทนำเรื่องหรือ อุบัติเหตุ จะกล่าวถึงมูลเหตุหรือที่มาของชาดกเรื่องนั้น
เช่น มหาเวสสันดรชาดก
๒. อดีตนิทาน หรือ ชาดก
หมายถึงเรื่องราวนิทานที่พระพุทธองค์ตรัสเล่า
๓. ประชุมชาดก ประมวลชาดก เป็นเนื้อความสุดท้ายของชาดกกล่าวถึงบุคคลในชาดก
คือผู้ใดที่กลับชาติเป็นใครบ้างในปัจจุบัน
ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล
ที่มา : http://thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-6/no39/favorite.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น