บทอาขยานหลัก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔


คำแนะนำก่อนเรียน

  • ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่




  • ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ นี้  นักเรียนจะต้องสอบท่องบทอาขยาน  บทหลัก จำนวน ๑ บท  จะเป็นบทใดก็ได้  จากที่ครูยกมาให้ใน ๒ บท ด้านล่างนี้ (เลือกท่องเพียงบทเดียว) คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน  โดยนักเรียนจะต้องมาดำเนินการสอบนอกเวลาเรียนให้เสร็จสิ้นก่อนการสอบกลางภาค

  • ในการสอบสำหรับห้องที่เรียนกับครูบุ๋ม (ห้อง ๒  ๔  ๖  ๘ และ ๑๐)  ครูอนุญาตให้อ่านได้ ๓ แบบ  คือ แบบที่ ๑ อ่านแบบแบ่งวรรคตอนธรรมดา  แบบที่ ๒  อ่านแบบทำนองเสนาะ  และแบบที่ ๓ อ่านแบบสรภัญญะที่นักเรียนคุ้นเคย  เลือกแบบใดแบบหนึ่งที่นักเรียนถนัดในการท่องจำนะคะ

  • การสอบท่องจำนักเรียนต้องออกเสียงคำอ่านให้ถูกต้องตามที่ครูแนะนำด้านล่างนี้นะคะ



บทอาขยาน

บทหลักในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
บทที่ ๑
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ

ข้าขอนบชนกคุณ          ชนนีเป็นเค้ามูล
ผู้กอบนุกูลพูน                        ผดุงจวบเจริญวัย
ฟูมฟักทะนุถนอม          บ บำราศนิราไกล
แสนยากเท่าไรไร                     บ คิดยากลำบากกาย
ตรากทนระคนทุกข์        ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย                   จนได้รอดเป็นกายา
เปรียบหนักชนกคุณ       ชนนีคือภูผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา                     ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน
เหลือที่จะแทนทด         จะสนองคุณานันต์
แท้บูชไนยอัน                         อุดมเลิศประเสริฐคุณ

อ่านออกเสียงบทประพันธ์ดังนี้
ข้าขอนบชนกคุณ           อ่านว่า            ข้า – ขอ – นบ – ชะ – นก – คุน
ชนนีเป็นเค้ามูล             อ่านว่า            ชะ – นะ – นี – เป็น – เค้า – มูน
ผู้กอบนุกูลพูน               อ่านว่า            ผู้ – กอบ – นุ – กูน – พูน
ผดุงจวบเจริญวัย            อ่านว่า            ผะ – ดุง – จวบ – จะ – เริน – วัย
ฟูมฟักทะนุถนอม           อ่านว่า            ฟูม – ฟัก – ทะ – นุ – ถะ – หนอม
บ บำราศนิราไกล           อ่านว่า            บอ – บำ – ราด – นิ – รา – ไกล
แสนยากเท่าไรไร            อ่านว่า            แสน – ยาก – เท่า – ไร – ไร
บ คิดยากลำบากกาย       อ่านว่า            บอ – คิด – ยาก – ลำ – บาก – กาย
ตรากทนระคนทุกข์         อ่านว่า            ตราก – ทน – ระ – คน – ทุก
ถนอมเลี้ยง ฤ รู้วาย         อ่านว่า            ถะ – หนอม – เลี้ยง – รึ – รู้ – วาย
ปกป้องซึ่งอันตราย          อ่านว่า            ปก – ป้อง – ซึ่ง – อัน – ตะ – ราย
จนได้รอดเป็นกายา         อ่านว่า            จน – ได้ – รอด – เป็น – กา – ยา
เปรียบหนักชนกคุณ        อ่านว่า            เปรียบ – หนัก – ชะ – นก – คุน
ชนนีคือภูผา                 อ่านว่า            ชะ – นะ – นี – คือ – ภู – ผา
ใหญ่พื้นพสุนธรา            อ่านว่า            ใหญ่ – พื้น – พะ – สุน – ทะ – รา
ก็ บ เทียบ บ เทียมทัน     อ่านว่า            ก็ – บอ – เทียบ – บอ – เทียม – ทัน
เหลือที่จะแทนทด          อ่านว่า            เหลือ – ที่ – จะ – แทน – ทด
จะสนองคุณานันต์          อ่านว่า            จะ – สะ – หนอง – คุ – นา – นัน
แท้บูชไนยอัน                อ่านว่า            แท้ – บู – ชะ – นัย – ยะ – อัน
อุดมเลิศประเสริฐคุณ       อ่านว่า            อุ – ดม – เลิด – ประ – เสริด – คุน


บทที่ ๒
บทนมัสการอาจาริยคุณ

อนึ่งข้าคำนับน้อม           ต่อพระครูผู้การุญ
โอบเอื้อและเจือจุน                    อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ      ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน
ชี้แจงและแบ่งปัน                     ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน
จิตมากด้วยเมตตา          และกรุณา บ เอียงเอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์           ให้ฉลาดและแหลมคม
ขจัดเขลาบรรเทาโม        หะจิตมืดที่งุนงม
กังขา ณ อารมณ์                      ก็สว่างกระจ่างใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ           ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร
ควรนึกและตรึกใน                    จิตน้อมนิยมชม

อ่านออกเสียงบทประพันธ์ดังนี้
อนึ่งข้าคำนับน้อม              อ่านว่า            อะ – หนึ่ง – ข้า – คำ – นับ – น้อม
ต่อพระครูผู้การุญ              อ่านว่า            ต่อ – พระ – ครู – ผู้ – กา – รุน
โอบเอื้อและเจือจุน            อ่านว่า            โอบ – เอื้อ – และ – เจือ – จุน
อนุสาสน์ทุกสิ่งสรรพ์          อ่านว่า            อะ – นุ – สาด – ทุก – สิ่ง – สัน
ยัง บ ทราบก็ได้ทราบ         อ่านว่า            ยัง – บอ – ซาบ – ก็ – ได้ – ซาบ
ทั้งบุญบาปทุกสิ่งอัน           อ่านว่า            ทั้ง – บุน – บาบ – ทุก – สิ่ง – อัน
ชี้แจงและแบ่งปัน              อ่านว่า            ชี้ – แจง – และ – แบ่ง – ปัน
ขยายอัตถ์ให้ชัดเจน           อ่านว่า            ขะ – หยาย – อัด – ให้ – ชัด – เจน
จิตมากด้วยเมตตา             อ่านว่า            จิด – มาก – ด้วย – เมด – ตา
และกรุณา บ เอียงเอน       อ่านว่า            และ – กะ – รุ – นา – บอ – เอียง – เอน
เหมือนท่านมาแกล้งเกณฑ์   อ่านว่า            เหมือน – ท่าน – มา – แกล้ง – เกน
ให้ฉลาดและแหลมคม        อ่านว่า            ให้ – ฉะ – หลาด – และ – แหลม –คม
ขจัดเขลาบรรเทาโม           อ่านว่า            ขะ – จัด – เขลา – บัน – เทา – โม
หะจิตมืดที่งุนงม               อ่านว่า            หะ – จิด – มืด – ที่ – งุน – งม
กังขา ณ อารมณ์              อ่านว่า            กัง – ขา – ณ – อา – รม
ก็สว่างกระจ่างใจ              อ่านว่า            ก็ – สะ – หว่าง – กระ – จ่าง – ใจ
คุณส่วนนี้ควรนับ              อ่านว่า            คุน – ส่วน – นี้ – ควน – นับ
ถือว่าเลิศ ณ แดนไตร         อ่านว่า            ถือ – ว่า – เลิด – นะ – แดน – ไตร
ควรนึกและตรึกใน            อ่านว่า            ควน – นึก – และ – ตรึก – ใน
จิตน้อมนิยมชม                อ่านว่า            จิ – ตะ – น้อม – นิ – ยม - ชม

ข้อสังเกตในการอ่าน

  • คำบางคำ  ทำไมไม่ออกเสียงเหมือนที่เราเคยออกเสียง  เช่น  ชนนี  นักเรียนเคยอ่านออกเสียงว่า  ชน – นะ – นี  ส่วน  จิตน้อม  นักเรียนก็เคยออกเสียงว่า  จิด – น้อม  ใช่ไหมคะ  เอ...ครูบุ๋ม  พิมพ์ผิดหรือเปล่า
  • คำตอบคือ  ไม่ผิดค่ะ  เหตุที่  ชนนี  ต้องออกเสียงเป็น  ชะ – นะ – นี   ส่วน จิตน้อม  ต้องออกเสียงเป็น  จิ – ตะ – น้อม  เพราะต้องการออกเสียงให้เป็นคำครุ  ลหุ  ตามฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์  เพื่อให้เกิดความไพเราะตามลักษณะของบทประพันธ์  ซึ่งบทอาขยานที่นักเรียนท่องจำนี้เป็นคำประพันธ์ประเภทอินทรวิเชียรฉันท์ทั้งสองบท
  • ส่วนฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์  และคำครุ  ลหุเป็นเช่นไร  เปิดภาคเรียนเราค่อยมาเรียนรู้กันนะคะ  อดใจไว้นิดแต่นักเรียนจะได้เรียนแน่นอนค่ะ

ตัวอย่างการอ่านออกเสียงแบบทำนองเสนาะ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ



บทนมัสการอาจาริยคุณ





ตัวอย่างการอ่านออกเสียงแบบสรภัญญะ

บทนมัสการมาตาปิตุคุณ



บทนมัสการอาจาริยคุณ








ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานเวตาล

กาพย์ฉบัง ๑๖

นิทานชาดก