กาพย์ยานี ๑๑
กาพย์ยานี ๑๑
กาพย์ยานี
- กาพย์ยานีมีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น กาพย์ยานี กาพย์ยานีลำนำ และกาพย์ ๑๑ หรือกาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานีมีลักษณะคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์แตกต่างกันเพียงกาพย์ยานีไม่มีบังคับครุลหุ ในพจนานุกรมอธิบายว่า “เป็นชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง มี ๑๑ พยางค์ จัดเป็น ๒ วรรค วรรคต้น ๕ พยางค์ วรรคหลัง ๖ พยางค์” เข้าใจว่ากาพย์ยานีเป็นกาพย์ที่แปลงมาจากคำฉันท์บาลี
แผนผังกาพย์ยานี ๑๑
ตัวอย่างคำประพันธ์
"คืนเพ็ญจันทร์กระจ่าง เพริศพราวพร่างกลางเวหน
งามเด่นเพ็ญกลมมน ล่องลอยหาวเพริศพราวพราย
กระทงน้อยลอยล่อง กลางลำคลองผ่องชัดฉาย
จากเทียนส่องประกาย
งามเลิศล้ำสุขฉ่ำใจ"
ที่มา : สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์
๑. บท
บทหนึ่งมี ๔ วรรค
วรรคที่หนึ่งเรียกวรรคสดับ วรรคที่สองเรียกวรรครับ
วรรคที่สามเรียกวรรครอง วรรคที่สี่เรียกวรรคส่งแบ่งเป็นวรรคแรก ๕ คำ
วรรคหลัง ๖ คำ รวม ๑๑ คำ จึงเรียก ยานี ๑๑
๒. คณะ กาพย์ยานี ๑๑
มีดังนี้
๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท
๒. บาทหนึ่งมี ๒ วรรค หนึ่งบทมี ๔ วรรค
๑. บทหนึ่งมี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท
๒. บาทหนึ่งมี ๒ วรรค หนึ่งบทมี ๔ วรรค
วรรคแรก เรียกว่า
วรรคสดับ
|
วรรค ๒ เรียกว่า
วรรครับ
|
วรรค ๓ เรียกว่า
วรรครอง
|
วรรค ๔ เรียกว่า
วรรคส่ง
|
๓. พยางค์
พยางค์หรือคำ วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ
รวมเป็น ๑๑ คำจึงเรียกว่า "กาพย์ยานี๑๑" ทั้งบาทเอกและบาทโทมีจำนวนคำเท่ากัน
๔ สัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)
๔ สัมผัส
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๒
๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓
๓. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)
การอ่านกาพย์ยานี ๑๑
การอ่านกาพย์ยานี ๑๑ จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้ วรรคแรกมี ๕ คำวรรคหลังมี ๖ คำ การอ่านจึงเว้นเป็นจังหวะตามวรรคคือวรรคหน้าเว้นจังหวะ ๒/๓ คำ
ส่วนวรรคหลังเว้นจังหวะ ๓/๓ คำ
00 / 000
|
000 / 000
|
||
00 / 000
|
000 / 000
|
||
ขึ้นกก / ตกทุกข์ยาก
|
แสนลำบาก /
จากเวียงไชย
|
||
มันเผือก / เลือกเผาไฟ
|
กินผลไม้ /
ได้เป็นแรง
|
||
ที่มา :
กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา
|
ทบทวนความรู้เดิม
การแต่งกาพย์ยานี
๑๑
ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล :
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น