กาพย์ฉบัง ๑๖


กาพย์ฉบัง ๑๖


แผนผังกาพย์ฉบัง ๑๖


ตัวอย่างคำประพันธ์

มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนาง                   หล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง    
กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน     
เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน              เหมือนอย่าง/นางเชิญ    
พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง          
เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง                         เริงร้อง/ซ้องเสียง         
สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง                                  
กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง                      ฟังเสียง/เพียงเพลง        
ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง"                      
                                                             ที่มา : กาพย์พระไชยสุริยา


ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์

  ๑. คณะ          
             กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค


  ๒. พยางค์
                พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ  วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ  วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ            จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖


  ๓. สัมผัส
  ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค ๒
  ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ ของบทต่อไป   ( เรียกว่า สัมผัสระหว่างบท )

 

 การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖
                
                การอ่านกาพย์ฉบัง ๑๖ จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านคำในแต่ละวรรคดังนี้
     
 หนึ่งบทมี ๓ วรรค  วรรคแรกมี ๖ คำ วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ การอ่านจึงเว้นจังหวะทุกๆ ๒ คำ



          00 / 00 / 00

00 / 00
00 / 00 / 00




          กลางไพร / ไก่ขัน / บรรเลง

ฟังเสียง / เพียงเพลง
ซอเจ้ง / จำเรียง / เวียงวัง


                                                                                   ที่มา : กาพย์พระไชยสุริยา



ทบทวนความรู้เดิม

ตัวอย่างการอ่านกาพย์






ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล :

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานเวตาล

นิทานชาดก