กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘


กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘


แผนผัง


ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์

๑. บท
บทหนึ่งมี ๗ วรรค  ขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ รับ รอง ส่ง ตามลำดับ รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท  แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

๒. สัมผัส
สัมผัสนอก หรือ สัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคต้น (วรรครับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง
คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
คำสุดท้ายของวรรคที่สี่ (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า (วรรครับ)
และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า (วรรครับ) ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก (วรรครอง)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ
คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗ (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ (วรรคส่ง)
หรือนักเรียนจะใช้หลักการจำง่าย ๆ ดังนี้
๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒
          ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๕
          ๓. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔ สัมผัสกับคำที่ ๒ ของวรรคที่ ๕
          ๔. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๖
                    
          ถ้าแต่งมากกว่า ๑ บท ต้องมีสัมผัสเชื่อมระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบทแรก สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ของบทต่อไป

ตัวอย่าง

สุรางคนางค์    เจ็ดวรรคจัดวาง    วรรคหนึ่งสี่คำ
สัมผัสชัดเจน     เป็นบทลำนำ      กำหนดจดจำ     รู้ร่ำรู้เรียน
รู้คิดรู้อ่าน     รู้ประสบการณ์     รู้งานอ่านเขียน
รู้ทุกข์รู้ยาก     รู้พากรู้เพียร     ประดุจดวงเทียน      ประดับปัญญา

คำสุดท้ายของบทต้นคือคำว่า เรียนเป็นคำสัมผัสบังคับให้บทถัดไปต้องรับสัมผัส ที่วรรคสามด้วยคำว่า เขียนตามตัวอย่าง

ข้อสังเกต
กาพย์สุรางคนางค์ไม่เคร่งครัดสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่นตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น 
ส่วนสัมผัสนอกระหว่างวรรคที่สองกับที่สามและวรรคที่หกกับวรรคที่เจ็ดจะมีหรือไม่มีก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน


การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘
                    
          การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ จะต้องแบ่งจังหวะการอ่านตำในแต่ละวรรคดังนี้ 
    
          หนึ่งบทมี ๗ วรรค แต่ละวรรคมีจำนวนคำ ๔ คำเท่าๆกัน การอ่านจึงเว้นจังหวะเหมือนกันคือ ๒/๒ คำ







00 / 00
00 / 00

00 / 00
00 / 00

00 / 00
00 / 00

00 / 00



วันนั้น / จันทร
มีดา / รากร

เป็นบ / ริวาร
เห็นสิ้น / ดินฟ้า

ในป่า / ท่าธาร
มาลี / คลี่บาน

ใบก้าน / อรชร

ที่มา : กาพย์พระไชยสุริยา

การอ่านกาพย์สุรางคนางค์ ๒๘





ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล :
 








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

นิทานเวตาล

กาพย์ฉบัง ๑๖

นิทานชาดก