บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2020

คำแนะนำก่อนเรียนการแต่งกาพย์

คำแนะนำก่อนเรียน การแต่งกาพย์ ตัวชี้วัด ท ๓๑๑๐๑  กำหนดให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ต้องสามารถแต่งบทประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์ได้  โดยในระดับชั้น ม.๔ นักเรียนจะศึกษาฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์   ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit ก่อนที่เราจะเรียนรู้ฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์  ครูอยากให้นักเรียนฝึกการแต่งกาพย์  โดยเฉพาะกาพย์ยานี ๑๑  ให้คล่องเสียก่อน  เพราะกาพย์ยานี ๑๑  มีลักษณะฉันทลักษณ์เหมือนกันกับอินทรวิเชียรฉันท์  แตกต่างกันเพียงอินทรวิชียรฉันท์จะมีบังคับคำให้เป็น ครุ  ลหุ  ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันในตอนเปิดภาคเรียน  ในวันนี้ให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนเรียงลำดับ ดังนี้ ๑.กาพย์ยานี ๑๑ ๒.กาพย์ฉบัง ๑๖ ๓.กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เมื่อศึกษาฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ทั้ง ๓ เข้าใจดีแล้ว ลองฝึกแต่งดูนะคะ  ลองกำหนดหัวข้อและจำนวนบทเอง  เปิดภาคเรียนครูจะให้ฝึกแต่งส่งครูอีกครั้ง  แล้วพบกันตอนเปิดภาคเรียนค่ะ

กาพย์ยานี ๑๑

รูปภาพ
กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี กาพย์ยานีมีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น   กาพย์ยานี   กาพย์ยานีลำนำ   และกาพย์ ๑๑   หรือกาพย์ยานี ๑๑   กาพย์ยานีมีลักษณะคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์แตกต่างกันเพียงกาพย์ยานีไม่มีบังคับครุลหุ   ในพจนานุกรมอธิบายว่า   “เป็นชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง   มี   ๑๑ พยางค์   จัดเป็น   ๒   วรรค   วรรคต้น   ๕   พยางค์   วรรคหลัง   ๖   พยางค์”   เข้าใจว่ากาพย์ยานีเป็นกาพย์ที่แปลงมาจากคำฉันท์บาลี แผนผังกาพย์ยานี ๑๑ ตัวอย่างคำประพันธ์                                                                 " คืนเพ็ญจันทร์กระจ่าง               เพริศพราวพร่างกลางเวหน                     งามเด่นเพ็ญกลมมน                           ล่องลอยหาวเพริศพราวพราย                     กระทงน้อยลอยล่อง                          กลางลำคลองผ่องชัดฉาย                     จากเทียนส่องประกาย                         งามเลิศล้ำสุขฉ่ำใจ"                                                                    ที่มา : สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ ๑. บท

กาพย์ฉบัง ๑๖

รูปภาพ
กาพย์ฉบัง ๑๖ แผนผังกาพย์ฉบัง ๑๖ ตัวอย่างคำประพันธ์ มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนาง                    หล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง      กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน      เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน               เหมือนอย่าง/นางเชิญ      พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง           เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง                           เริงร้อง/ซ้องเสียง           สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง                                    กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง                       ฟังเสียง/เพียงเพลง          ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง"                                                                                     ที่มา : กาพย์พระไชยสุริยา ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์     ๑. คณะ                           กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค     ๒. พยางค์                  พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ  วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ  วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ   รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ            จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖    ๓. สัมผัส   ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของ

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

รูปภาพ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แผนผัง ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ ๑. บท บทหนึ่งมี ๗ วรรค   ขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ   รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท  แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า   กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ๒. สัมผัส สัมผัสนอก   หรือ สัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคต้น  ( วรรครับ)   สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ) คำสุดท้ายของวรรคที่สี่  ( วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ) และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ)   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก  ( วรรครอง) สัมผัสระหว่างบท   ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗  ( วรรคส่ง)   เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓  ( วรรคส่ง) หรือนักเรียนจะใช้หลักการจำง่าย ๆ ดังนี้ ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒            ๒. คำสุดท้ายของวร