บทความ

คำแนะนำก่อนเรียนการแต่งกาพย์

คำแนะนำก่อนเรียน การแต่งกาพย์ ตัวชี้วัด ท ๓๑๑๐๑  กำหนดให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ต้องสามารถแต่งบทประพันธ์อินทรวิเชียรฉันท์ได้  โดยในระดับชั้น ม.๔ นักเรียนจะศึกษาฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์   ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit ก่อนที่เราจะเรียนรู้ฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์  ครูอยากให้นักเรียนฝึกการแต่งกาพย์  โดยเฉพาะกาพย์ยานี ๑๑  ให้คล่องเสียก่อน  เพราะกาพย์ยานี ๑๑  มีลักษณะฉันทลักษณ์เหมือนกันกับอินทรวิเชียรฉันท์  แตกต่างกันเพียงอินทรวิชียรฉันท์จะมีบังคับคำให้เป็น ครุ  ลหุ  ซึ่งเราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันในตอนเปิดภาคเรียน  ในวันนี้ให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนเรียงลำดับ ดังนี้ ๑.กาพย์ยานี ๑๑ ๒.กาพย์ฉบัง ๑๖ ๓.กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ เมื่อศึกษาฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ทั้ง ๓ เข้าใจดีแล้ว ลองฝึกแต่งดูนะคะ  ลองกำหนดหัวข้อและจำนวนบทเอง  เปิดภาคเรียนครูจะให้ฝึกแต่งส่งครูอีกครั้ง  แล้วพบกันตอนเปิดภาคเรียนค่ะ

กาพย์ยานี ๑๑

รูปภาพ
กาพย์ยานี ๑๑ กาพย์ยานี กาพย์ยานีมีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น   กาพย์ยานี   กาพย์ยานีลำนำ   และกาพย์ ๑๑   หรือกาพย์ยานี ๑๑   กาพย์ยานีมีลักษณะคล้ายอินทรวิเชียรฉันท์แตกต่างกันเพียงกาพย์ยานีไม่มีบังคับครุลหุ   ในพจนานุกรมอธิบายว่า   “เป็นชื่อกาพย์ชนิดหนึ่ง   มี   ๑๑ พยางค์   จัดเป็น   ๒   วรรค   วรรคต้น   ๕   พยางค์   วรรคหลัง   ๖   พยางค์”   เข้าใจว่ากาพย์ยานีเป็นกาพย์ที่แปลงมาจากคำฉันท์บาลี แผนผังกาพย์ยานี ๑๑ ตัวอย่างคำประพันธ์                                                                 " คืนเพ็ญจันทร์กระจ่าง               เพริศพราวพร่างกลางเวหน                     งามเด่นเพ็ญกลมมน                           ล่องลอยหาวเพริศพราวพราย                     กระทงน้อยลอยล่อง                          กลางลำคลองผ่องชัดฉาย                     จากเทียนส่องประกาย                         งามเลิศล้ำสุขฉ่ำใจ"                                                                    ที่มา : สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ ๑. บท

กาพย์ฉบัง ๑๖

รูปภาพ
กาพย์ฉบัง ๑๖ แผนผังกาพย์ฉบัง ๑๖ ตัวอย่างคำประพันธ์ มะม่วง/พวงพลอง/ช้องนาง                    หล่นเกลื่อน/เถื่อนทาง      กินพลาง/เดินพลาง/หว่างเนิน      เห็นกวาง/ย่างเยื้อง/ชำเลืองเดิน               เหมือนอย่าง/นางเชิญ      พระแสง/สำอาง/ข้างเคียง           เขาสูง/ฝูงหงส์/ลงเรียง                           เริงร้อง/ซ้องเสียง           สำเนียง/น่าฟัง/วังเวง                                    กลางไพร/ไก่ขัน/บรรเลง                       ฟังเสียง/เพียงเพลง          ซอเจ้ง/จำเรียง/เวียงวัง"                                                                                     ที่มา : กาพย์พระไชยสุริยา ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์     ๑. คณะ                           กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๓ วรรค     ๒. พยางค์                  พยางค์หรือคำ วรรคที่ ๑ มี ๖ คำ  วรรคที่ ๒ มี ๔ คำ  วรรคที่ ๓ มี ๖ คำ   รวมทั้งหมดมี ๑๖ คำ            จึงเรียกว่า กาพย์ฉบัง ๑๖    ๓. สัมผัส   ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของ

กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘

รูปภาพ
กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ แผนผัง ฉันทลักษณ์ของบทประพันธ์ ๑. บท บทหนึ่งมี ๗ วรรค   ขึ้นต้นด้วยวรรครับ ต่อด้วยวรรครอง และวรรคส่ง แล้วขึ้นต้น ด้วยวรรคสดับ – รับ – รอง – ส่ง ตามลำดับ   รวม ๗ วรรค เป็น ๑ บท  แต่ละวรรคมี ๔ คำ ๑ บทมี ๗ วรรค รวม ๒๘ คำ จึงเรียกว่า   กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ๒. สัมผัส สัมผัสนอก   หรือ สัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้ คำสุดท้ายของวรรคต้น  ( วรรครับ)   สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคถัดไป คือวรรครอง คำสุดท้ายของวรรคที่สามคือวรรคส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ) คำสุดท้ายของวรรคที่สี่  ( วรรคสดับ)   สัมผัสกับคำที่หนึ่งหรือสองของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ) และคำสุดท้ายของวรรคที่ห้า  ( วรรครับ)   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่หก  ( วรรครอง) สัมผัสระหว่างบท   ของกาพย์สุรางคนางค์ คือ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๗  ( วรรคส่ง)   เป็นคำส่งสัมผัสบังคับให้บทต่อไป ต้องรับสัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคที่ ๓  ( วรรคส่ง) หรือนักเรียนจะใช้หลักการจำง่าย ๆ ดังนี้ ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒            ๒. คำสุดท้ายของวร

นิทานเวตาล

คำแนะนำก่อนเรียน ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit นิทานเวตาลเป็นนิทานซ้อนนิทานอีกเรื่องที่นักเรียนจะต้องศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ นี้ เนื่องจากนิทานเรื่องนี้เป็นนิทานที่ให้ข้อคิดและคติสอนใจแก่เยาวชนได้ดีมาก  ครูเสียดายที่นักเรียนมีโอกาสได้เรียนนิทานย่อยเพียงเรื่องเดียว  ซึ่งโดยปรกติครูจะสั่งไม่ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่เรียนมาก่อน  (สงสัยใช่ไหมว่าเพราะอะไร  เพราะครูจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน  คิดวิเคราะห์เรื่องราวไปตลอดเรื่อง  ถ้ารู้เรื่องก่อนก็ไม่สนุกใช่ไหมคะ  เข้าใจแล้วนะ) แต่ครั้งนี้เรามีโอกาสดีที่นักเรียนมีเวลาว่างมาศึกษาบทเรียนก่อนเปิดภาคเรียน  ครูจึงหานิทานเวตาลที่สมบูรณ์มาให้นักเรียนอ่าน เลือกอ่านเรื่องที่อยากอ่านได้เลยนะคะ  (จะอ่านครบหรือไม่ครบแล้วแต่ความสามารถในการอ่านของนักเรียน)  ศึกษาพอให้เห็นลักษณะของเนื้อเรื่องนิทานเวตาล ส่วนที่นักเรียนทุกคนต้องอ่านคือเนื้อเรื่องย่อนะคะ  สนุกนะ...ขอบอก  ไม่เชื่อถามรุ่นพี่ดูก็ได้

หัวใจชายหนุ่ม

คำแนะนำก่อนเรียน สัปดาห์นี้เราจะเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรื่องหัวใจชายหนุ่ม  ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะศึกษากันในภาคเรียนที่ ๑ นี้ ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit การศึกษาเรื่องนี้จะมีการเก็บคะแนนจากการถ่ายทอดความรู้  ความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านออกมาเป็นบทละคร  งานชิ้นนี้มีการเก็บคะแนนเป็นกลุ่มใหญ่  คือ  คะแนนออกมาเป็นคะแนนห้อง  (ให้ฝึกปฏิบัติทั้ง  ๑๑  ห้อง  โดยแบ่งการถ่ายทอดออกมาเป็นบทละครห้องละ ๑ ฉบับ) เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม (ส่งงานก่อนสอบกลางภาค) เพราะฉะนั้นนักเรียนจึงจำเป็นต้องอ่านเรื่องหัวใจชายหนุ่มด้วยตนเองทุกคน  จึงจะสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้ แต่เนื่องจากในขณะนี้นักเรียนยังไม่ได้รับหนังสือเรียน  ครูจึงได้นำเนื้อหาทั้งหมดของหัวใจชายหนุ่มมาลงให้อ่านก่อน  ขอให้อ่านด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน หัวใจชายหนุ่มเป็นนวนิยายขนาดสั้น  ผู้ประพันธ์คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงใช้นามแฝง รามจิตติ  โดยใช้รูปแบบนำเสนอเป็นจดหมาย 

คำแนะนำก่อนเรียนการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว

คำแนะนำก่อนเรียน การเขียนเรียงความโลกส่วนดัว ตัวชี้วัด ท ๓๑๑๐๑  กำหนดให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ต้องสามารถเขียนเรียงความได้  โดยในระดับชั้น ม.๔ นักเรียนจะศึกษาการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว   ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit ให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนเรียงลำดับ ดังนี้ ๑.หลักการเขียนเรียงความ ๒.การใช้โวหารในการเขียนเรียงความ ๓.เทคนิคการเขียนเรียงความ ๔.เรียงความโลกส่วนตัว ๕.ตัวอย่างการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว ๖.การเก็บคะแนนเรียงความโลกส่วนตัว หลักการเขียนเรียงความ ความหมายของเรียงความ เรียงความเป็นงานเขียนชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์จะถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทรรศนะ    ความรู้สึกความเข้าใจออกมาเป็นเรื่องราว   ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างชัดเจนและท่วงทำนองการเขียนที่น่าอ่าน การเลือกเรื่องที่จะเขียนเรียงความ            หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเอง ควรเลือกตามความชอบหรือความถนัดของตนเอง