บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

นิทานเวตาล

คำแนะนำก่อนเรียน ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit นิทานเวตาลเป็นนิทานซ้อนนิทานอีกเรื่องที่นักเรียนจะต้องศึกษาในภาคเรียนที่ ๑ นี้ เนื่องจากนิทานเรื่องนี้เป็นนิทานที่ให้ข้อคิดและคติสอนใจแก่เยาวชนได้ดีมาก  ครูเสียดายที่นักเรียนมีโอกาสได้เรียนนิทานย่อยเพียงเรื่องเดียว  ซึ่งโดยปรกติครูจะสั่งไม่ให้นักเรียนอ่านเรื่องที่เรียนมาก่อน  (สงสัยใช่ไหมว่าเพราะอะไร  เพราะครูจะใช้วิธีการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน  คิดวิเคราะห์เรื่องราวไปตลอดเรื่อง  ถ้ารู้เรื่องก่อนก็ไม่สนุกใช่ไหมคะ  เข้าใจแล้วนะ) แต่ครั้งนี้เรามีโอกาสดีที่นักเรียนมีเวลาว่างมาศึกษาบทเรียนก่อนเปิดภาคเรียน  ครูจึงหานิทานเวตาลที่สมบูรณ์มาให้นักเรียนอ่าน เลือกอ่านเรื่องที่อยากอ่านได้เลยนะคะ  (จะอ่านครบหรือไม่ครบแล้วแต่ความสามารถในการอ่านของนักเรียน)  ศึกษาพอให้เห็นลักษณะของเนื้อเรื่องนิทานเวตาล ส่วนที่นักเรียนทุกคนต้องอ่านคือเนื้อเรื่องย่อนะคะ  สนุกนะ...ขอบอก  ไม่เชื่อถามรุ่นพี่ดูก็ได้

หัวใจชายหนุ่ม

คำแนะนำก่อนเรียน สัปดาห์นี้เราจะเตรียมความพร้อมในการศึกษาเรื่องหัวใจชายหนุ่ม  ซึ่งเป็นเรื่องที่เราจะศึกษากันในภาคเรียนที่ ๑ นี้ ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit การศึกษาเรื่องนี้จะมีการเก็บคะแนนจากการถ่ายทอดความรู้  ความเข้าใจจากเรื่องที่อ่านออกมาเป็นบทละคร  งานชิ้นนี้มีการเก็บคะแนนเป็นกลุ่มใหญ่  คือ  คะแนนออกมาเป็นคะแนนห้อง  (ให้ฝึกปฏิบัติทั้ง  ๑๑  ห้อง  โดยแบ่งการถ่ายทอดออกมาเป็นบทละครห้องละ ๑ ฉบับ) เพื่อฝึกการทำงานเป็นทีม (ส่งงานก่อนสอบกลางภาค) เพราะฉะนั้นนักเรียนจึงจำเป็นต้องอ่านเรื่องหัวใจชายหนุ่มด้วยตนเองทุกคน  จึงจะสามารถผลิตชิ้นงานออกมาได้ แต่เนื่องจากในขณะนี้นักเรียนยังไม่ได้รับหนังสือเรียน  ครูจึงได้นำเนื้อหาทั้งหมดของหัวใจชายหนุ่มมาลงให้อ่านก่อน  ขอให้อ่านด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน หัวใจชายหนุ่มเป็นนวนิยายขนาดสั้น  ผู้ประพันธ์คือพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ทรงใช้นามแฝง รามจิตติ  โดยใช้รูปแบบนำเสนอเป็นจดหมาย 

คำแนะนำก่อนเรียนการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว

คำแนะนำก่อนเรียน การเขียนเรียงความโลกส่วนดัว ตัวชี้วัด ท ๓๑๑๐๑  กำหนดให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ต้องสามารถเขียนเรียงความได้  โดยในระดับชั้น ม.๔ นักเรียนจะศึกษาการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว   ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit ให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนเรียงลำดับ ดังนี้ ๑.หลักการเขียนเรียงความ ๒.การใช้โวหารในการเขียนเรียงความ ๓.เทคนิคการเขียนเรียงความ ๔.เรียงความโลกส่วนตัว ๕.ตัวอย่างการเขียนเรียงความโลกส่วนตัว ๖.การเก็บคะแนนเรียงความโลกส่วนตัว หลักการเขียนเรียงความ ความหมายของเรียงความ เรียงความเป็นงานเขียนชนิดหนึ่งที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์จะถ่ายทอดความรู้ ความคิด ทรรศนะ    ความรู้สึกความเข้าใจออกมาเป็นเรื่องราว   ด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบเรียงอย่างชัดเจนและท่วงทำนองการเขียนที่น่าอ่าน การเลือกเรื่องที่จะเขียนเรียงความ            หากจะต้องเป็นผู้เลือกเรื่องเอง ควรเลือกตามความชอบหรือความถนัดของตนเอง

บทอาขยานหลัก ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔

คำแนะนำก่อนเรียน ในการศึกษาเรื่องนี้ให้นักเรียนลงทะเบียนเรียนเพื่อเข้าชั้นเรียนทุกคนได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/126T_iIajjB6EZWiCpIhDH75EXpn5M2YXEd7isaUd6Xo/edit ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ นี้   นักเรียนจะต้องสอบท่องบทอาขยาน   บทหลัก จำนวน ๑ บท   จะเป็นบทใดก็ได้   จากที่ครูยกมาให้ใน ๒ บท ด้านล่างนี้ (เลือกท่องเพียงบทเดียว) คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน   โดยนักเรียนจะต้องมาดำเนินการสอบนอกเวลาเรียนให้เสร็จสิ้น ก่อนการสอบกลางภาค ในการสอบสำหรับห้องที่เรียนกับครูบุ๋ม (ห้อง ๒  ๔  ๖  ๘ และ ๑๐)   ครูอนุญาตให้อ่านได้ ๓ แบบ   คือ แบบที่ ๑ อ่านแบบแบ่งวรรคตอนธรรมดา   แบบที่ ๒   อ่านแบบทำนองเสนาะ   และแบบที่ ๓ อ่านแบบสรภัญญะที่นักเรียนคุ้นเคย   เลือกแบบใดแบบหนึ่งที่นักเรียนถนัดในการท่องจำนะคะ การสอบท่องจำนักเรียนต้องออกเสียงคำอ่านให้ถูกต้องตามที่ครูแนะนำด้านล่างนี้นะคะ บทอาขยาน บทหลักในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ บทที่ ๑ บทนมัสการมาตาปิตุคุณ ข้าขอนบชนกคุณ           ชนนีเป็นเค้ามูล ผู้กอบนุกูลพูน                          ผดุงจวบเจริญวัย ฟูมฟัก